พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระกริ่งปทุมสุร...
พระกริ่งปทุมสุริยะวงศ์ (กริ่งตั๊กแตน) เนื้อทองสัมฤทธิ์โบราณ
...จัดสร้างโดย อ.สุธันย์ สุนทรเสวี และคณะ เมื่อปี พ.ศ.2549 จำนวนจัดสร้างทั้งสิ้น 80 องค์ งดงามด้วยศิปะแบบบายนยุคต้น

...โดยสถาปนาขึ้นจากทองสัมฤทธิ์โบราณเก่ายุคขอมเรืองอำนาจ อาทิ เนื้อโลหะจากพระกริ่งตั๊กแตนโบราณทั้งเนื้อสัมฤทธิ์ขาว และเนื้อสัมฤทธิ์ดำ รวม 9 องค์, ชิ้นส่วนเนื้อสัมฤทธิ์โบราณจากพระพุทธรูป-เทวรูป-กำไร-แหวน-สังข์, โลหะธาตุ ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอานุภาพในตัวเอง อาทิ เหล็กเปียกจากองค์พระธาตุพนม, เหล็กน้ำพี้จากบ่อพระแสง-บ่อพระขรรค์ จ.อุตรดิตถ์, ทองสัตตโลหะจากสำนัก วัดดอนศาลา, โลหะชินลูกแก้วจากวัดญาณเสน, ปรอทสำเร็จ, แร่ขี้นกเขาเปล้า, แร่บางไผ่ นำมาหลอมรวมกับแผ่นพระยันต์เนื้อทองคำ-เงิน-ทองแดง ที่ผ่านการ ลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ ที่ผ่านการอธิษฐานจิตปลุกเสกจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศโดยเฉพาะทางอิสานใต้ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ กว่า 100 รูป( *รายชื่อเกจิอาจารย์บางส่วนตามเอกสารแนบ* )

...โดย หลวงปู่ฤทธิ์ และหลวงปู่เจียม ได้เมตตาลงอักขระเลขยันต์ ในแผ่นทองแดงจำนวน 108 แผ่น และยังมอบตะกรุดในสายวิชาของท่านจำนวนมากเพื่อร่วมผสมเป็นชนวนมหามงคล เมื่อรวบรวมชนวนทั้งหมดได้รวม 7 กิโลกรัม นำมาหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน และเททองในวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ตรงกับวันพฤหัสขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 เวลา 19.19 น. อันเป็นฤกษ์มหามงคล ฌ มลฑลพิธีภายใต้ ราชวัตร ฉัตร ธง และบายศรี 4 ทิศ โดยมีพระคณาจารย์ 9 รูปเจริญชัยมงคลคาถาตลอดการเททองหล่อ จากนั้นปล่อยให้เย็นตามธรรมชาติ แล้วจึงตกแต่งบรรจุเม็ดกริ่ง(ที่สร้างจากกำไลโลหะสำริดโบราณ)

...ภายหลังจากสถาปนาขึ้นเป็นองค์พระแล้ว คณะผู้จัดสร้างได้นำเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดไตรมิตรวิทยาราม, วัดศรีธาตุบ้านโนนตาด จ.ศรีสะเกษ, วัดประดู่ จ.สมุทรสงคราม รวม 5 วาระ
...จากนั้นจึงได้นำถวายครูบาอาจารย์ผู้ทรงศีลาธิคุณ และบริบูรณ์ด้วยวิชชา อธิษฐานจิตตามอัธยาศัย ประกอบด้วย หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่ธรรมรังษี วัดพระพุทธบาทเขาพนมดิน จ.สุรินทร์, หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี จ.สุรินทร์, หลวงปู่เกลี้ยง วัดบ้านโนนแกด, หลวงปู่บุญจันทร์ วัดศรีมังคลาราม จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่, ครูบาบุญชุ่ม วัดถ้ำจักรพรรดิ จ.เชียงราย, ครูบาเทือง วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่

...สุดยอดพระกริ่งที่ชนวนมวลสารเข้มขลัง พิธีกรรมการจัดสร้างถูกต้องตามตำราขอมโบราณ ผสานการผสมนวะโลหะตามตำราการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสสเทโว)วัดสุทัศนเทพวราราม
(ให้ทั่วประเทศรู้ว่าบ้านเรามีดี)JUST4SHOW
______________________________________________________________________________________________

(สัมฤทธิ์-สำริด)...มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่า สมิทฺธิ หมายถึง“ ความสำเร็จ ”...สุวรรณภูมิเริ่มรับวัฒนธรรม และคติความเชื่อทางศาสนาจากชมพูทวีป(อินเดีย)เมื่อประมาณ 1,800 ปีที่แล้ว จึงนำโลหะสำริดซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าเหล็ก ไปหล่อเป็นรูปเคารพสร้างสรรค์เป็นงานศิลปกรรม เพื่อสนองตอบความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม เช่นสร้างเป็นเทวรูป พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ฯลฯ ยกย่องเป็นสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลบันดาลให้สำเร็จประโยชน์ และทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ตามความเชื่อในแต่ละลัทธิศาสนา

โลหะ สัมฤทธิ์โบราณ ประกอบไปด้วยธาตุบริสุทธิ์ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไปโดยมี แร่ทองคำและเงินเป็นหลัก ถ้าไม่มีจะไม่ถือว่าเป็นสัมฤทธิ์ และที่เป็นหลักอีกอย่างคือทองแดง ซึ่งจะใช้มากเพื่อให้ได้ปริมาณ

เนื้อ สำริดหรือสัมฤทธิ์ ประกอบด้วยตระกูลของสัมฤทธิ์ที่ถูกต้องตามสูตรโบราณมีอยู่ 5 ตระกูล คือ สัมฤทธิ์ผล สัมฤทธิ์โชค สัมฤทธิ์ศักดิ์ สัมฤทธิ์คุณ และสัมฤทธิ์เดช รวมเป็นสัมฤทธิ์ 5 ตระกูล อันมีความพิสดารดังต่อไปนี้

1. สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง หรือตริยโลหะ มีมงคลความหมายถึง พระรัตนตรัยเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อสาม ผสมด้วยโลหะธาตุ 3 ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะแดงคล้ายนาก แต่มีผิวเจือด้วยวรรณะคล้ำๆ คล้ายสีมะขามเปียก โบราณถือว่าเป็นมงคลวัตถุ อำนวยผลนานาประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเมตตามหานิยม พระพุทธรูปสมัยอู่ทองโดยเฉพาะพระพุทธรูปอู่ทองหน้าแก่มักสร้างด้วยเนื้อนี้

2. สัมฤทธิ์โชค คือสัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ เป็นโบราณนิยามหมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อห้า ได้แก่ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคำ มีวรรณะเหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึก หรือขันลงหิน มีแววนกยูงภายในเนื้อ เป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสำเร็จ พระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยบางยุคและพระเชียงแสน พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราชแพ บางรุ่น และพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์บางรุ่นก็สร้างด้วยเนื้อนี้

3. สัมฤทธิ์ศักดิ์ คือสัมฤทธิ์ขาว หรือสัตตโลหะ เป็นมงคลนามหมายถึง โพชฌงค์ 7 คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี 7 ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา สัมฤทธิ์ศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด

4. สัมฤทธิ์คุณ คือสัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลหะ หมายถึงนัยของธรรมอันสูงสุดในพระศาสนา อันได้แก่ นวโลกุตรธรรม อันมี มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 สัมฤทธิ์คุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน จ้าวน้ำเงิน เงิน และทองคำ แต่สัมฤทธิ์ตระกูลนี้แก่ส่วนผสมของเนื้อเงินมากกว่าธรรมดา ฉะนั้น เนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจำปาอ่อนหรือนากอ่อน แต่ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะถูกไอเหงื่อ จะมีวรรณะคล้ำเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้ำมีแววขาวโดยตลอดเนื้อ สัมฤทธิ์ชนิดนี้อำนวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดชทุกประการ

5. สัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์คุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะต้องไอเหงื่อ จะดำสนิท ประหนึ่งนิลดำ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตะบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ แคล้วคลาด คงกระพัน ครบครันทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิ์เดช หรือนวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาอยู่กับ สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ พระพุฒาจารย์มา ครั้งยังเป็นพระมงคลทิพยะมุนี วัดจักรวรรดิฯ และสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ครั้งยังเป็นพระเทพโมลีตามลำดับ เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด มีดังนี้
1) ชิน หนัก 1 บาท
2) จ้าวน้ำเงิน หนัก 2 บาท
3) เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
4) ตะกั่วเถื่อน หนัก 4 บาท
5) ปรอท หนัก 5 บาท
6) สังกะสี หนัก 6 บาท
7) บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก 7 บาท
8) เงิน หนัก 8 บาท
9) ทองคำ หนัก 9 บาท

เนื้อทอง สัมฤทธิ์เดชนี้ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนผสมใช้ทองคำมากกว่าโลหะอื่นๆ ซึ่งหนักถึง 9 บาท จึงจะได้น้ำหนักของเนื้อสัมฤทธิ์เดชเพียง 45 บาทเท่านั้น ซึ่งก็จะสร้างเป็นองค์พระไม่ได้มากนัก ในปัจจุบันจึงไม่มีใครกล้าทำเนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ซึ่งเป็นนวโลหะจริงๆ ตามสูตรโบราณเนื่องจากจะสิ้นเปลืองมาก

การสร้างพระเครื่องและเหรียญ ในปัจจุบันนี้ได้ทำให้คนเข้าใจผิดกันมาก โดยเรียกโลหะผสมชนิดเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง ว่าเป็นเนื้อนวโลหะ และเรียกโลหะผสมชนิดเนื้อกลับว่า เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นการตรงกันข้าม เพราะคำว่านวโลหะหมายถึง เนื้อทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้าตามแบบโบราณเท่านั้น

*** ขออธิบายเรื่องที่มีหลายท่านที่ไม่เข้าใจ...***
(ทองดอกบวบ)หรือเรียกทองเนื้อหก ปรากฎหลักฐานตามประกาศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ระบุถึงการกำหนดคุณภาพทองคำ โดยตั้งพิกัดราคา(ทองคำ)ตามประมาณของเนื้อทองคำบริสุทธิ์ในทองรูปพรรณ เนื้อทองคำดังกล่าวอาจผสมด้วยแร่เงิน หรือทองแดงมากน้อยตามคุณภาพของทองคำ ส่วนการเรียกทองคุณภาพต่างๆ นั้น ใช้วิธีการเรียกราคาของทองคำต่อน้ำหนักทองหนึ่งบาทเป็นมาตรฐานในการเรียกชื่อทองคำ เริ่มตั้งแต่ทองเนื้อสี่ขึ้นไปจนถึงทองเนื้อเก้า มีรายละเอียดดังนี้

ทองเนื้อสี่ หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 4 บาท
ทองเนื้อห้า หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 5 บาท
ทองเนื้อหก หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 6 บาท (ทองดอกบวบ)
ทองเนื้อเจ็ด หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 7 บาท
ทองเนื้อแปด หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 8 บาท
ทองเนื้อเก้า หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 9 บาท

...สำหรับทองเนื้อหกโบราณจะเรียกทองดอกบวบ เป็นทองที่มีเนื้อทองสีเหลืองอ่อนคล้ายดอกบวบ นิยมนำมาสร้างพระเครื่องหรือพระพุทธรูป...ส่วนทองเนื้อเก้าเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่า “ทองธรรมชาติ” "ทองนพคุณ" หรือบางที่เรียกว่า “ทองชมพูนุช” เป็นทองที่มีสีเหลืองเข้มออกแดง นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกแตกต่างกันอีกหลายชื่อเช่น “ทองเนื้อแท้” “ทองคำเลียง” ซึ่งหมายถึงทองบริสุทธิ์ปราศจากธาตุอื่นเจือปน ซึ่งตรงกับคำในภาษาล้านนาว่า “คำขา” นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกทองคุณภาพต่างๆอีกหลายชื่อเช่น “ทองปะทาสี” ซึ่งเป็นทองคำเปลวเนื้อบริสุทธิ์ชนิดหนา

____________________________________________________________________________________________

(พระกริ่งเขมร-กริ่งตั๊กแตน)
...พระกริ่งเขมรหน้าตั๊กแตน สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากเทวสถานมาเป็นพุทธสถาน มีประวัติประสบการณ์อภินิหารมากมาย จากปากปู่ย่าตายายมาสู่ถึงคนในยุคปัจจุบัน เลยเป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่อง และเครื่องรางของขลัง ซึ่งทุกท่านมีความเชื่อกันว่าเมื่อได้กริ่งเขมรไม่ว่าจะเป็นยุคต้น ยุคกลาง หรือยุคปลายนำมาบูชาพกพาติดตัว ความเป็นสิริมงคลก็จะเกิดเรื่องของสิ่งที่เป็นอัปมงคลก็จะไม่มีเกิดขึ้นแน่นอน
...พระกริ่งเขมรหน้าตั๊กแตน จัดเป็นพระกริ่งนอกอีกชนิดหนึ่งที่ปรากฎนิยมเล่าหากันอย่างกว้างขวางและมีค่านิยมสูง มีกำเนิดมาจากประเทศเขมร ได้สร้างขึ้นตามตำรับไสยศาสตร์ อันสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ ในศาสนาพราหมณ์ได้กล่าวถึงพระผู้เป็นเจ้ายิ่งใหญ่อยู่หลายต่อหลายพระองค์ด้วยกัน เช่น พระอิศวร ผู้เป็นเจ้าโลก หรือที่เรียกว่า พระศิวะ พระวิษณุ และพระนารายณ์ ผู้เป็นใหญ่
...พระกริ่งตั๊กแตน มีวิธีการสร้างโดยวิธีการปั้นหุ่นเทียน แต่ละองค์ไป พูดกันถึงการสร้างพระกริ่งในประเทศเขมร ก็คงจะเหมือนกับการสร้างพระกริ่งในประเทศไทย คือมีการสร้างกันอยู่ทุกยุคทุกสมัย นับตั้งแต่เจ้าพระยามหากษัตริย์จนแม้กระทั่งท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย เราจึงมักจะพบเห็นพระกริ่งเขมร หรือพระกริ่งตั๊กแตนที่มีศิลปรูปแบบ ตลอดจนฝีมือและเนื้อหาที่จัดมากน้อยแตกต่างกันไป
...โดยเฉพาะพระกริ่งตั๊กแตนอันอุดมไปด้วยจตุรอาถรรพณ์ ย่อมมีอานุภาพเป็นอเนกอนันต์ ผู้ใดมีอยู่ในความรอบครองบูชาพกพาอาราธนาเสมอต้นเสมอปลาย จากประสบการณ์มาแต่โบราณเชื่อถือกันมากในเรื่องของอภินิหารต่างๆ ได้รับการยกย่องว่าเป็น"เจ้าแห่งกฤติยาคม" พุทธคุณนั้น ดีทั้งทางด้านบำบัดภัยนานาประการ บันดาลความสุขความเจริญ กำจัดศัตรูให้พ่ายไป มีอานุภาพในด้านสรัางเสน่ห์นิยม และคงกระพันชาตรี
ผู้เข้าชม
2529 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
นนท์ มหาโชค
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0890999979
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ว.ศิลป์สยามsomemanน้ำตาลแดงปุณยนุชแหลมร่มโพธิ์tplas
โจ๊ก ป่าแดงเอก พานิชพระเครื่องokprakaew กจ.เปียโนเอี่ยวเสรีไทย
ภูมิ IRBAINGERNปลั๊ก ปทุมธานีstp253ทองธนบุรีบ้านพระสมเด็จ
บ้านพระหลักร้อยหริด์ เก้าแสนchaithawatPoosuphan89สยามพระเครื่องไทยngamkamol
ratchupongBeerchang พระเครื่องเทพจิระtermboonNetnapatumlawyer

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1407 คน

เพิ่มข้อมูล

พระกริ่งปทุมสุริยะวงศ์ (กริ่งตั๊กแตน) เนื้อทองสัมฤทธิ์โบราณ




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระกริ่งปทุมสุริยะวงศ์ (กริ่งตั๊กแตน) เนื้อทองสัมฤทธิ์โบราณ
รายละเอียด
...จัดสร้างโดย อ.สุธันย์ สุนทรเสวี และคณะ เมื่อปี พ.ศ.2549 จำนวนจัดสร้างทั้งสิ้น 80 องค์ งดงามด้วยศิปะแบบบายนยุคต้น

...โดยสถาปนาขึ้นจากทองสัมฤทธิ์โบราณเก่ายุคขอมเรืองอำนาจ อาทิ เนื้อโลหะจากพระกริ่งตั๊กแตนโบราณทั้งเนื้อสัมฤทธิ์ขาว และเนื้อสัมฤทธิ์ดำ รวม 9 องค์, ชิ้นส่วนเนื้อสัมฤทธิ์โบราณจากพระพุทธรูป-เทวรูป-กำไร-แหวน-สังข์, โลหะธาตุ ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอานุภาพในตัวเอง อาทิ เหล็กเปียกจากองค์พระธาตุพนม, เหล็กน้ำพี้จากบ่อพระแสง-บ่อพระขรรค์ จ.อุตรดิตถ์, ทองสัตตโลหะจากสำนัก วัดดอนศาลา, โลหะชินลูกแก้วจากวัดญาณเสน, ปรอทสำเร็จ, แร่ขี้นกเขาเปล้า, แร่บางไผ่ นำมาหลอมรวมกับแผ่นพระยันต์เนื้อทองคำ-เงิน-ทองแดง ที่ผ่านการ ลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ ที่ผ่านการอธิษฐานจิตปลุกเสกจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศโดยเฉพาะทางอิสานใต้ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ กว่า 100 รูป( *รายชื่อเกจิอาจารย์บางส่วนตามเอกสารแนบ* )

...โดย หลวงปู่ฤทธิ์ และหลวงปู่เจียม ได้เมตตาลงอักขระเลขยันต์ ในแผ่นทองแดงจำนวน 108 แผ่น และยังมอบตะกรุดในสายวิชาของท่านจำนวนมากเพื่อร่วมผสมเป็นชนวนมหามงคล เมื่อรวบรวมชนวนทั้งหมดได้รวม 7 กิโลกรัม นำมาหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน และเททองในวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ตรงกับวันพฤหัสขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 เวลา 19.19 น. อันเป็นฤกษ์มหามงคล ฌ มลฑลพิธีภายใต้ ราชวัตร ฉัตร ธง และบายศรี 4 ทิศ โดยมีพระคณาจารย์ 9 รูปเจริญชัยมงคลคาถาตลอดการเททองหล่อ จากนั้นปล่อยให้เย็นตามธรรมชาติ แล้วจึงตกแต่งบรรจุเม็ดกริ่ง(ที่สร้างจากกำไลโลหะสำริดโบราณ)

...ภายหลังจากสถาปนาขึ้นเป็นองค์พระแล้ว คณะผู้จัดสร้างได้นำเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดไตรมิตรวิทยาราม, วัดศรีธาตุบ้านโนนตาด จ.ศรีสะเกษ, วัดประดู่ จ.สมุทรสงคราม รวม 5 วาระ
...จากนั้นจึงได้นำถวายครูบาอาจารย์ผู้ทรงศีลาธิคุณ และบริบูรณ์ด้วยวิชชา อธิษฐานจิตตามอัธยาศัย ประกอบด้วย หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่ธรรมรังษี วัดพระพุทธบาทเขาพนมดิน จ.สุรินทร์, หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี จ.สุรินทร์, หลวงปู่เกลี้ยง วัดบ้านโนนแกด, หลวงปู่บุญจันทร์ วัดศรีมังคลาราม จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่, ครูบาบุญชุ่ม วัดถ้ำจักรพรรดิ จ.เชียงราย, ครูบาเทือง วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่

...สุดยอดพระกริ่งที่ชนวนมวลสารเข้มขลัง พิธีกรรมการจัดสร้างถูกต้องตามตำราขอมโบราณ ผสานการผสมนวะโลหะตามตำราการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสสเทโว)วัดสุทัศนเทพวราราม
(ให้ทั่วประเทศรู้ว่าบ้านเรามีดี)JUST4SHOW
______________________________________________________________________________________________

(สัมฤทธิ์-สำริด)...มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่า สมิทฺธิ หมายถึง“ ความสำเร็จ ”...สุวรรณภูมิเริ่มรับวัฒนธรรม และคติความเชื่อทางศาสนาจากชมพูทวีป(อินเดีย)เมื่อประมาณ 1,800 ปีที่แล้ว จึงนำโลหะสำริดซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าเหล็ก ไปหล่อเป็นรูปเคารพสร้างสรรค์เป็นงานศิลปกรรม เพื่อสนองตอบความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม เช่นสร้างเป็นเทวรูป พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ฯลฯ ยกย่องเป็นสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลบันดาลให้สำเร็จประโยชน์ และทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ตามความเชื่อในแต่ละลัทธิศาสนา

โลหะ สัมฤทธิ์โบราณ ประกอบไปด้วยธาตุบริสุทธิ์ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไปโดยมี แร่ทองคำและเงินเป็นหลัก ถ้าไม่มีจะไม่ถือว่าเป็นสัมฤทธิ์ และที่เป็นหลักอีกอย่างคือทองแดง ซึ่งจะใช้มากเพื่อให้ได้ปริมาณ

เนื้อ สำริดหรือสัมฤทธิ์ ประกอบด้วยตระกูลของสัมฤทธิ์ที่ถูกต้องตามสูตรโบราณมีอยู่ 5 ตระกูล คือ สัมฤทธิ์ผล สัมฤทธิ์โชค สัมฤทธิ์ศักดิ์ สัมฤทธิ์คุณ และสัมฤทธิ์เดช รวมเป็นสัมฤทธิ์ 5 ตระกูล อันมีความพิสดารดังต่อไปนี้

1. สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง หรือตริยโลหะ มีมงคลความหมายถึง พระรัตนตรัยเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อสาม ผสมด้วยโลหะธาตุ 3 ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะแดงคล้ายนาก แต่มีผิวเจือด้วยวรรณะคล้ำๆ คล้ายสีมะขามเปียก โบราณถือว่าเป็นมงคลวัตถุ อำนวยผลนานาประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเมตตามหานิยม พระพุทธรูปสมัยอู่ทองโดยเฉพาะพระพุทธรูปอู่ทองหน้าแก่มักสร้างด้วยเนื้อนี้

2. สัมฤทธิ์โชค คือสัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ เป็นโบราณนิยามหมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อห้า ได้แก่ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคำ มีวรรณะเหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึก หรือขันลงหิน มีแววนกยูงภายในเนื้อ เป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสำเร็จ พระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยบางยุคและพระเชียงแสน พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราชแพ บางรุ่น และพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์บางรุ่นก็สร้างด้วยเนื้อนี้

3. สัมฤทธิ์ศักดิ์ คือสัมฤทธิ์ขาว หรือสัตตโลหะ เป็นมงคลนามหมายถึง โพชฌงค์ 7 คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี 7 ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา สัมฤทธิ์ศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด

4. สัมฤทธิ์คุณ คือสัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลหะ หมายถึงนัยของธรรมอันสูงสุดในพระศาสนา อันได้แก่ นวโลกุตรธรรม อันมี มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 สัมฤทธิ์คุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน จ้าวน้ำเงิน เงิน และทองคำ แต่สัมฤทธิ์ตระกูลนี้แก่ส่วนผสมของเนื้อเงินมากกว่าธรรมดา ฉะนั้น เนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจำปาอ่อนหรือนากอ่อน แต่ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะถูกไอเหงื่อ จะมีวรรณะคล้ำเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้ำมีแววขาวโดยตลอดเนื้อ สัมฤทธิ์ชนิดนี้อำนวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดชทุกประการ

5. สัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์คุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะต้องไอเหงื่อ จะดำสนิท ประหนึ่งนิลดำ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตะบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ แคล้วคลาด คงกระพัน ครบครันทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิ์เดช หรือนวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาอยู่กับ สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ พระพุฒาจารย์มา ครั้งยังเป็นพระมงคลทิพยะมุนี วัดจักรวรรดิฯ และสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ครั้งยังเป็นพระเทพโมลีตามลำดับ เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด มีดังนี้
1) ชิน หนัก 1 บาท
2) จ้าวน้ำเงิน หนัก 2 บาท
3) เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
4) ตะกั่วเถื่อน หนัก 4 บาท
5) ปรอท หนัก 5 บาท
6) สังกะสี หนัก 6 บาท
7) บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก 7 บาท
8) เงิน หนัก 8 บาท
9) ทองคำ หนัก 9 บาท

เนื้อทอง สัมฤทธิ์เดชนี้ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนผสมใช้ทองคำมากกว่าโลหะอื่นๆ ซึ่งหนักถึง 9 บาท จึงจะได้น้ำหนักของเนื้อสัมฤทธิ์เดชเพียง 45 บาทเท่านั้น ซึ่งก็จะสร้างเป็นองค์พระไม่ได้มากนัก ในปัจจุบันจึงไม่มีใครกล้าทำเนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ซึ่งเป็นนวโลหะจริงๆ ตามสูตรโบราณเนื่องจากจะสิ้นเปลืองมาก

การสร้างพระเครื่องและเหรียญ ในปัจจุบันนี้ได้ทำให้คนเข้าใจผิดกันมาก โดยเรียกโลหะผสมชนิดเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง ว่าเป็นเนื้อนวโลหะ และเรียกโลหะผสมชนิดเนื้อกลับว่า เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นการตรงกันข้าม เพราะคำว่านวโลหะหมายถึง เนื้อทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้าตามแบบโบราณเท่านั้น

*** ขออธิบายเรื่องที่มีหลายท่านที่ไม่เข้าใจ...***
(ทองดอกบวบ)หรือเรียกทองเนื้อหก ปรากฎหลักฐานตามประกาศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ระบุถึงการกำหนดคุณภาพทองคำ โดยตั้งพิกัดราคา(ทองคำ)ตามประมาณของเนื้อทองคำบริสุทธิ์ในทองรูปพรรณ เนื้อทองคำดังกล่าวอาจผสมด้วยแร่เงิน หรือทองแดงมากน้อยตามคุณภาพของทองคำ ส่วนการเรียกทองคุณภาพต่างๆ นั้น ใช้วิธีการเรียกราคาของทองคำต่อน้ำหนักทองหนึ่งบาทเป็นมาตรฐานในการเรียกชื่อทองคำ เริ่มตั้งแต่ทองเนื้อสี่ขึ้นไปจนถึงทองเนื้อเก้า มีรายละเอียดดังนี้

ทองเนื้อสี่ หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 4 บาท
ทองเนื้อห้า หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 5 บาท
ทองเนื้อหก หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 6 บาท (ทองดอกบวบ)
ทองเนื้อเจ็ด หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 7 บาท
ทองเนื้อแปด หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 8 บาท
ทองเนื้อเก้า หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 9 บาท

...สำหรับทองเนื้อหกโบราณจะเรียกทองดอกบวบ เป็นทองที่มีเนื้อทองสีเหลืองอ่อนคล้ายดอกบวบ นิยมนำมาสร้างพระเครื่องหรือพระพุทธรูป...ส่วนทองเนื้อเก้าเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่า “ทองธรรมชาติ” "ทองนพคุณ" หรือบางที่เรียกว่า “ทองชมพูนุช” เป็นทองที่มีสีเหลืองเข้มออกแดง นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกแตกต่างกันอีกหลายชื่อเช่น “ทองเนื้อแท้” “ทองคำเลียง” ซึ่งหมายถึงทองบริสุทธิ์ปราศจากธาตุอื่นเจือปน ซึ่งตรงกับคำในภาษาล้านนาว่า “คำขา” นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกทองคุณภาพต่างๆอีกหลายชื่อเช่น “ทองปะทาสี” ซึ่งเป็นทองคำเปลวเนื้อบริสุทธิ์ชนิดหนา

____________________________________________________________________________________________

(พระกริ่งเขมร-กริ่งตั๊กแตน)
...พระกริ่งเขมรหน้าตั๊กแตน สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากเทวสถานมาเป็นพุทธสถาน มีประวัติประสบการณ์อภินิหารมากมาย จากปากปู่ย่าตายายมาสู่ถึงคนในยุคปัจจุบัน เลยเป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่อง และเครื่องรางของขลัง ซึ่งทุกท่านมีความเชื่อกันว่าเมื่อได้กริ่งเขมรไม่ว่าจะเป็นยุคต้น ยุคกลาง หรือยุคปลายนำมาบูชาพกพาติดตัว ความเป็นสิริมงคลก็จะเกิดเรื่องของสิ่งที่เป็นอัปมงคลก็จะไม่มีเกิดขึ้นแน่นอน
...พระกริ่งเขมรหน้าตั๊กแตน จัดเป็นพระกริ่งนอกอีกชนิดหนึ่งที่ปรากฎนิยมเล่าหากันอย่างกว้างขวางและมีค่านิยมสูง มีกำเนิดมาจากประเทศเขมร ได้สร้างขึ้นตามตำรับไสยศาสตร์ อันสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ ในศาสนาพราหมณ์ได้กล่าวถึงพระผู้เป็นเจ้ายิ่งใหญ่อยู่หลายต่อหลายพระองค์ด้วยกัน เช่น พระอิศวร ผู้เป็นเจ้าโลก หรือที่เรียกว่า พระศิวะ พระวิษณุ และพระนารายณ์ ผู้เป็นใหญ่
...พระกริ่งตั๊กแตน มีวิธีการสร้างโดยวิธีการปั้นหุ่นเทียน แต่ละองค์ไป พูดกันถึงการสร้างพระกริ่งในประเทศเขมร ก็คงจะเหมือนกับการสร้างพระกริ่งในประเทศไทย คือมีการสร้างกันอยู่ทุกยุคทุกสมัย นับตั้งแต่เจ้าพระยามหากษัตริย์จนแม้กระทั่งท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย เราจึงมักจะพบเห็นพระกริ่งเขมร หรือพระกริ่งตั๊กแตนที่มีศิลปรูปแบบ ตลอดจนฝีมือและเนื้อหาที่จัดมากน้อยแตกต่างกันไป
...โดยเฉพาะพระกริ่งตั๊กแตนอันอุดมไปด้วยจตุรอาถรรพณ์ ย่อมมีอานุภาพเป็นอเนกอนันต์ ผู้ใดมีอยู่ในความรอบครองบูชาพกพาอาราธนาเสมอต้นเสมอปลาย จากประสบการณ์มาแต่โบราณเชื่อถือกันมากในเรื่องของอภินิหารต่างๆ ได้รับการยกย่องว่าเป็น"เจ้าแห่งกฤติยาคม" พุทธคุณนั้น ดีทั้งทางด้านบำบัดภัยนานาประการ บันดาลความสุขความเจริญ กำจัดศัตรูให้พ่ายไป มีอานุภาพในด้านสรัางเสน่ห์นิยม และคงกระพันชาตรี
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
2530 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
นนท์ มหาโชค
URL
เบอร์โทรศัพท์
0890999979
ID LINE
0890999979
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี